ประวัติปี่เซียะ

ผีซิว 貔貅 แยกเป็นเทียนลู่ 天禄 นอเดียว และพี่เสีย 辟邪 สองนอ แต่ในปัจจุบัน ดูเหมือนจะไม่มีการแยกนอเดียวหรือสองนออีกแล้ว หากแต่ใช้เขาเดียวหรือนอเดียวเป็นหลัก 多以一角造型为主 ส่วนชื่อเรียกนั้น ชาวจีนทางเหนือ 北方 นิยมเรียกว่าพี่เสีย辟邪 แต่คนจีนทางใต้ 南方 มักเรียกกันว่าผีซิว 貔貅 แต่ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร สัตว์มงคลดังกล่าว มีเค้าโครงไปทางสิงห์หรือราชสีห์ครับ ไม่ควรเป็นลิงเป็นค่าง หรือเป็นกวางเป็นแมว

ในบันทึกสื่อจี้ 史记 ของซือหม่าเชียน 司马迁 มีการกล่าวถึงผีซิว 貔貅ไว้ว่า บุราณกษัตริย์นามหวงตี้ 黄帝ได้ฝึกสอน 熊 貔貅 虎 เป็นนักรบเพื่อสัปยุทธกับทัพของเอี๋ยนตี้ 炎帝 ที่ทุ่งปั่นเฉวียน 阪泉之野 นักประวัติศาสตร์ในปัจจุบันวิเคราะห์ว่า สิงสาราสัตว์ที่กล่าวถึงนั้น แท้จริงก็คือชื่อของกองทหารที่มีความฮึกเหิมเหี้ยมโหดดุจสัตว์ป่า เหมือนกับของฝรั่งที่ชื่อว่าคิงคอบบ้า หรือถ้าเป็นของไทยก็คงจะเป็นจงอางศึก คงจะไม่ใช่เอาสัตว์ป่ามาฝึกให้ต่อสู้กับศัตรูแต่อย่างใด .

ปี่เซียะ (เทพร่ำรวย)

        ปี่เซียะเป็นสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ คำว่า ปี่เซียะเป็นสำเนียงจีนกลาง ถ้าจีนแต้จิ๋วเรียกว่า “ผี่ชิว” กวางตุ้งเรียก “เพเย้า” หรืออาจเรียกในชื่ออื่น ๆ เช่น “เถาปก” หรือ “ฝูปอ” นี้เป็นคำเรียกรวมๆ ของ สิ่งซิ้วสัตว์ศักดิ์สิทธิ์ ตระกูลหนึ่งในจดหมายเหตุฮั่นชุในภาคที่ว่าด้วยดินแดนทางประจิมทิศมีข้อความระบุไว้ว่าในแคว้นหลีแถบเขาอูเกอซาน นั้นมีสัตว์ตระกูลนี้ปรากฏอยู่ลักษณะแตกต่างกันเล็กน้อย นั้นคือ เทียจนลก เทียนหลู่ ตัวคล้ายกวาง หางยาว มีเขาเดียว คำว่าเทียนลู่นั้นแปลตรงตัวว่า กวางสวรรค์ ครั้นต่อมาคำว่า “ปี่เซียะ” หรือ “ผี่ชิว” กลายเป็นคำที่คนทั่วไปคุ้นเคยกว่า “เทียนลู่” แล้วจึงให้เรียกรวมกันไปในทางมายาศาสตร์จีน แต่เดิม ปี่เซียะเป็นสัตว์มงคลที่มีอนุภาพในทางกำจัดปีศาจ และสิ่งชั่วร้ายรวมทั้งปกป้องจากคุณไสย และมนต์ดำต่าง ๆ กล่าวคือคำว่า “ปี่” หรือ “ผี่” นั้น แปลว่า ปิด เร้นลับหลบซ่อน คำว่า “ปี่เซียะ” หรือ “ชิว” คือ อาถรรพณ์ สิ่งไม่ดี คุณไสย ภูติปีศาจ คำว่า “ปี่เซียะ” หรือ “ผี่ชิว” จึงแปลได้ว่า ขจัดอาถรรพณ์ คนจีนสมัยก่อนจึงมักเขียนภาพ หรือตั้งปติมากรรม รูปปี่เซียะไว้ตามประตูบ้าน และสุสานทั่วไป บางทีก็ประดับไว้บนหลังคาพระราชวังต่าง ๆ เพื่อให้มันช่วยขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายนั้นเอง ว่ากันว่ามีพลังในการกำราบสิ่งชั่วร้าย

ปี่เซียะ “ปี่” คือตัวผู้ ส่วนเซียะคือตัวเมีย สองเขาจะเรียกว่า “ปี่เซียะ” ส่วนเขาเดียวจะเรียกว่า “เทียนลก” ทางเหนือของจีนจะเรียกว่า “ปี่เซียะ” ส่วนทางใต้จะเรียกว่า “เทียนลก” ถ้าเป็นตัวเดียวจะเป็นตัวเสี่ยงโชค แต่ถ้าเป็นคู่สำหรับวัตุถุมงคล สำหรับขจัดสิ่งชั่วร้าย

        กวางตุ้งเรียก “เพเย้า” จีนกลางเรียก “ปี่เซี๊ยะ” แต้จิ๋วเรียก “ผี่ฮิว”

ปี่เซียะ คือ เทพลก กวางสวรรค์มี 1 เขา มีปากไม่มีทวาร เชื่อกันว่าทรัพย์มีแต่เข้าไม่มีออก ร้านค้าหรือธนาคารนิยมมีไว้ บูชาเพื่อเก็บกักเงินทองไม่ให้รั่วไหลขจัดสิ่งอัปมงคล ว่าเทพเซียนปี่เซียะจะลงมาคุ้มครองและให้โชคลาภนับแต่นี้ไปอีก 20 ปี

พีซิว เป็นที่รู้จักในเมืองไทยเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ จากเดิมซึ่งมีคนรู้จักน้อยมาก หากใครมีโอกาสไปเยือนประเทศจีนจะพบว่าสัตว์ตัวนี้ได้รับความนิยมมาก โดยเฉพาะในหมู่ผู้ทำมาค้าขาย ศูนย์การค้าขนาดใหญ่ และหน้าบ่อนการพนัน เพราะเชื่อว่าตั้งไว้เพื่อดูดทรัพย์พวกนักเล่น นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่า พีซิว สามารถปกป้องคุ้มภัย ขจัดสิ่งอัปมงคล เมื่อได้ทรัพย์สินเงินทองมาแล้ว การใช้จ่ายจะรั่วไหลออกเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

มีตำนานเล่าขานในทางมงคลถึง พีซิว มากมายโดยเฉพาะเรื่องราวในยุคต้นราชวงศ์ “ชิง” (ราชวงศ์แมนจู) เล่ากันว่า เมื่อยุคเฉียนหลงฮ่องเต้ ครั้งยังเป็นองค์รัชทายาท เรียกกันว่า “องค์ชายสี่” มีนักพรตท่านหนึ่งนำ พีซิว มามอบให้ โดยกำชับให้หมั่นดูแลทะนุถนอม พีซิวจักคุ้มครอง ปกป้องภัย และส่งพลังให้ขึ้นสู่ราชบัลลังก์ ซึ่งองค์ชายสี่ก็ได้ทำตามนั้น จวบจนต่อมาได้ขึ้นครองราชย์ พระองค์จึงพระราชทานยศตำแหน่งแก่ พีซิว นาม “เทียนลู่” (บารมียศแห่งสวรรค์) และอยู่คู่เฉียนหลงฮ่องเต้ตลอดรัชสมัย 60 ปีที่ครองราชย์ ซึ่งนับเป็นระยะเวลาแห่งการครองราชย์อันยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์จีน

ปัจจุบัน พีซิว ตัวดังกล่าว ตั้งอยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติไต้หวัน

แชร์หน้านี้ | Share This Page!